วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ดอกไม้ประเทศกลุ่มอาเซียน


ราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย

ดอก Simpor หรือที่เรารู้จักกันในชื่อดอก Dillenia เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศ บรูไน ดารุสซาลาม

ดอก Rumdul ก็คือดอก ลำดวน เป็นดอกไม้ประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา

ดอก Moon Orchid (กล้วยไม้ราตรี) เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ของ Phalaenopsis เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ลีลาวดี หรือลั่นทม เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Hibiscus หรือ ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย

Padauk ประดู่ เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สหภาพพม่า

Sampaguita Jasmine ดอกพุดแก้ว เป็นดอกไม้ประจำชาติของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

Vanda Miss Joaquim เป็นกล้วยไม้ในกลุ่ม แวนด้า เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสิงคโปร์



บัว เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


ชุดประจำชาติของประเทศในกลุ่มASEAN

1.ชุดประจําชาติ ประเทศไทย



2.ชุดประจําชาติ ประเทศลาว



3.ชุดประจําชาติ ประเทศบรูไน



4.ชุดประจําชาติ ประเทศเวียดนาม



5.ชุดประจําชาติ ประเทศพม่า



6.ชุดประจําชาติ ประเทศกัมพูชา



7.ชุดประจําชาติ ประเทศฟิลิปปินส์



8.ชุดประจําชาติ ประเทศสิงคโปร์



9.ชุดประจําชาติ ประเทศมาเลเซีย



10.ชุดประจําชาติ ประเทศอินโดนีเซีย



ความหมายและชื่อของประเทศอาเซียน


1. กัมพูชา : ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា เปรียะ เรียเจียนาจักร กัมปุเจีย
ความหมาย ชื่อประเทศมาจากภาษาเขมรโบราณ คำว่า Kambuja (Kambujadesa; कम्बोजदेश :"ดินแดนแห่ง Kambuja")


2. ไทย : ราชอาณาจักรไทย
ความหมาย อิสระ ไม่ตกเป็นทาสใคร ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก และเป็น 1 ในไม่กี่ประเทศในเอเชียที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก เช่นเดียวกับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก

3. บรูไน : อักษรยาวี : بروني دارالسلام อักษรโรมัน : Brunei Darussalamบรูไนดารุสซาลาม
ความหมาย เป็นไปได้ว่ามาจากคำว่า Barunah ซึ่งเป็นภาษามาเลย์แปลว่าสุดยอดหรือเยี่ยมยอด หรือ เป็นชื่อที่ถูกเปลี่ยนในสมัยคริสตศวตรวรรษที่ 14 อาจมาจากคำว่า varunai (वरुण) ที่มีความหมายว่า ชาวเรือทะเล ต่อมาก็กลายเป็นบรูไน ส่วนคำว่าเกาะบอร์เนียวก็มาจากสาเหตุของชื่อประเทศบรูไนเหมือนกันกัน (ประเทศบรูไนตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว) ส่วนคำว่าดารุสซาลาม เป็นภาษาอาหรับหมายถึง ที่พำนักของสันติภาพ

4. เมียนมาร์ :  ปี่เด่าง์ซุ ซามาดา มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ
ความหมาย คำว่ามยะ หมายถึง เร็ว หม่า แปลว่าแข็งแรงทนทาน ส่วนชื่อบะพม่า (พม่า) มาจากภาษาสันกฤษตว่า Brahmadesh (ब्रह्मादेश) แปลว่า ดินแดนของพระพหรม

5. ฟิลิปปินส์ : Pilipinas ปิลิปินัส
ความหมาย ดินแดนของพระเจ้าฟิลิป (พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนครองราชย์ระหว่าง วันที่ 25 กฎกฏาคม ค.ศ. 155413 กันยายน ค.ศ. 1598 รวม 44 ปี 50 วัน) ซึ่งสเปนเป็นผู้ยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้น และตั้งชื่อเกาะตามพระนามพระเจ้าฟิลิปที่ 2 เพื่อเป็นการให้เกียรติแด่พระองค์

6. มาเลเซีย : Malaysia มาเลเซีย
ความหมาย คำว่ามลายา มาจากภาษาทมิฬ/ สั นสกฤต மலை/मलै (มาเล/มาลัย) แปลว่าเนินเขา และคำว่า ஊர்/उर् ยู/ยา ที่แปลว่าเมือง มลายาจึงมีความหมายว่าเมืองเนินเขา และนำคำว่า ละติน/กรีก คำว่า เซีย -sia/-σία, หมายถึงแผ่นดิน คำว่ามาเลเซียจึงมีความหมายว่าแผ่นดินของชาวมาเลเซีย ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมือ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายา สิงค์โปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน คำว่า มาเลเซียนี้เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปีพ.ศ. 2457 ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆ มากมาย แม้แต่ชื่อลังกาสุกะ ก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย

7. ลาว : ສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว
ความหมาย อาจจมาจากคำอินเดียโบราณว่า lava (लव). (Lava เป็นชื่อลูกแฝดชายของพระราม) หรือมาจากคำว่าอาณาจักร อ้ายลาว"

8. เวียดนาม : Vit Nam เหวียตนาม
ความหมาย ชื่อประเทศของชาวเวียด ในช่วงที่เวียดนามเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศสนั้น เวียดนามีชื่อว่าประเทศอันนัม และได้ชื่อประเทศเวียดนามอย่างเป็นทางการเมื่อ ปี ค.ศ. 1945 ชาวเวียดนามชอบท่องคำขวัญสมัยใหม่ว่า เสียดนามเป็นชื่อประเทศ มิใช่สงคราม ในภาษษจีน (ภาษาเวียดนามอ่านออกเสียงว่า เหวียต) หมายถึงไกลออกไป ส่วน (เวียดนามออกเสียงว่านาม) หมายถึงทิศใต้ คงหมายถึง ประเทศที่อยู่ทางใต้ของจีนอย่างเวียดนาม

9. สิงคโปร์: Singapura ซีงาปูรา
ความหมาย มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า สิงหะปุระ (सिंगापोर)แปลว่า เมืองสิงโต เดิมมีซีงาปูราชื่อว่า เทมาเส็ก (ทูมาสิค) มีกษัตริย์ปกครอง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่า สิงหปุระ แต่สิ่งที่พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นที่จริงแล้วมันคือเสือพื้นเมืองต่างหาก ต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละกา ส่วนซีงาปูรา เป็นภาษามาเลย์ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของสิงคโปร์ เรียกประเทศสิงคโปร์

10. อินโดนีเซีย : Indonesiaอินโดเนเซีย
ความหมาย มาจากภาษากรีกคำว่า Ινδόνησιά หมายถึงหมู่เกาะอินเดีย เป็นคำที่ถูกคิดขึ้นในสมัยคริสตศวตวรรษที่ 19 เพราะชาวยุโรปก่อนหน้านี้เรียกอินโดนีเซียว่า East Indies คืออินเดียต
din� p p � �$� ing-right: 2.5em; padding-bottom: 0px; padding-left: 2.5em; margin-top: 0.5em; margin-right: 0px; margin-bottom: 0.5em; margin-left: 0px; line-height: 18px; list-style-type: disc; list-style-position: initial; list-style-image: initial; color: rgb(255, 255, 255); font-family: Arial, Tahoma, Helvetica, FreeSans, sans-serif; font-size: 13px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: normal; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: -webkit-auto; text-indent: 0px; text-transform: none; white-space: normal; widows: 2; word-spacing: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px; background-color: rgb(20, 20, 20); ">

  • แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 




  • อาหารประจำชาติอาเซียน

    ประเทศไทย (Thailand) : ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)



    พม่า (Myanmar) : หล่าเพ็ด (Lahpet)



    สิงคโปร์ (Singapore) : ลักสา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ)



    ฟิลิปปินส์ (Philippines) : อโดโบ้ (Adobo)


    เวียดนาม (Vietnam) : Nem หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม




    มาเลเซีย (Malaysia) : นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)



    ลาว (Loas) : ซุบไก่ (Chicken Soup) 



    อินโดนีเซีย (Indonesia) : กาโด กาโด (Gado Gado)



    กัมพูชา (Cambodia) : อาม็อก (Amok)



    บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) : อัมบูยัต (Ambuyat)

                   
    คำกล่าวทักทาย (ภาษาอาเซียน)
    บรูไน
    ซาลามัต ดาตัง
    อินโดนีเซีย
    ซาลามัต เซียง
    มาเลเซีย
    ซาลามัต ดาตัง
    ฟิลิปปินส์
    กูมุสตา
    สิงคโปร์
    หนีห่าว
    ไทย
    สวัสดี
    กัมพูชา
    ซัวสเด
    ลาว
    สะบายดี
    พม่า
    มิงกาลาบา
    เวียดนาม
    ซินจ่าว

    ธงชาติอาเซียน

    สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
    • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
    • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
    • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
    • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

    ธงชาติลาว

    ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน ได้รับการออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย มหาสิลา วีระวงส์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว
    • สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
    • สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
    • พระจันทร์สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว) หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง

    ธงชาติบรูไน

    "บรูไนดารุสซาลาม" (แปลว่า นครแห่งสันติสุข) ลักษณะของธงชาตินั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง ภายในมีแถบสีขาวและสีดำวางพาดตามแนวทแยงมุม จากมุมบนด้านคันธงไปยังมุมล่างด้านปลายธง โดยสีขาวอยู่บน สีดำอยู่ล่าง กลางธงนั้นมีภาพตราแผ่นดินของบรูไน
    • พื้นธงสีเหลือง หมายถึงกษัตริย์ (ธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง)
    • สีขาวและสีดำ หมายถึงมุขมนตรีของประเทศบรูไน

    ธงชาติเมียรม่าร์

    มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ ความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติประกอบด้วย
    • สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า
    • สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
    • ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ

    ธงชาติกัมพูชา

    มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน
    • พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" (เขมร: )
    • พื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน
    • สีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์

    ธงชาติเวียตนาม

    ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

    ธงชาติสิงคโปร์

    เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว ความหมายสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ในธง อันได้แก่
    • สีแดง หมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
    • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล
    • รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึงความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค

    ธงชาติมาเลเซีย

    หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ยาลูร์ เกมิลัง" ("Jalur Gemilang" มีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "บินตัง เปอร์เซกูตัน" ("Bintang Persekutuan") หรือ "ดาราสหพันธ์"
    • แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
    • ดาว 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
    • พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
    • สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
    • สีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย

    ธงชาติฟิลิปปินส์

    มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม สามเหลี่ยมสีขาวเป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาคและภราดรภาพ
    • พื้นสีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม
    • พื้นสีแดงหมายถึงความรักชาติและความมีคุณค่า
    • รูปดวงอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกหมายถึงแปดจังหวัดแรกของประเทศ อันได้แก่ จังหวัดบาตังกาส, จังหวัดบูลาคัน, จังหวัดคาวิเต, จังหวัดลากูนา, จังหวัดมะนิลา, จังหวัดนูเอวา เอคิยา, จังหวัดปัมปังกา และจังหวัดตาร์ลัค ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชจากสเปนและฝ่ายสเปนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นเมื่อเริ่มเหตุการณ์การปฏิวัติฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2439
    • ดาวสามดวงหมายถึงหมายถึงการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน

    ธงชาติอินโดนีเซีย

    รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "ซังเมราห์ปูติห์" ("Sang Merah Putih", สีแดง-ขาว) เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน
    • สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ
    • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม

    ธงชาติไทย

    เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ
    • ชาติ (สีแดง)
    • ศาสนา (สีขาว)
    • พระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน)
    สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) ในพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2464 ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนาและธรรมะ สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์